คำถามที่พบบ่อย

1. Private-PPA และ Direct-PPA คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

Private-PPA (Private Power Purchase Agreement) คือข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตพลังงาน (ผู้พัฒนาโครงการ) และผู้ใช้ไฟฟ้า (องค์กรหรือธุรกิจ) โดยไม่ผ่านการขายไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งสาธารณะ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือหน่วยงานรัฐ

Direct-PPA (Direct Power Purchase Agreement) คือสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตพลังงานกับผู้ใช้พลังงาน โดยไม่ผ่านตัวกลางหรือผู้ให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าสาธารณะ เช่น การไฟฟ้าหรือหน่วยงานรัฐ

ความแตกต่างระหว่าง Direct-PPA และ Private-PPA:

Direct-PPA: การส่งพลังงานผ่านสายส่งของรัฐ แต่ไม่ผ่านการซื้อขายผ่านการไฟฟ้าสาธารณะ
Private-PPA: มุ่งเน้นการผลิตและใช้พลังงานในสถานที่เดียวกันหรือเครือข่ายส่วนตัวโดยไม่พึ่งสายส่งของรัฐ

2. Asset Tokenization คืออะไร?

Asset Tokenization คือ การนำสินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น โซลาร์ฟาร์ม โซลาร์รูฟท็อป โซลาร์ลอยน้ำ แบตเตอรี่ และสถานีชาร์จอีวี เป็นต้น และสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ มาแปลงให้เป็นโทเคนดิจิทัลบนเทคโนโลยีบล็อกเชนและนำไปเสนอขายให้กับนักลงทุนหรือผู้ที่สนใจ

3. REC และ I-REC คืออะไร

REC (Renewable Energy Certificate) คือใบรับรองพลังงานหมุนเวียนที่ยืนยันว่ามีการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศสหรัฐอเมรืกาและแคนนาดา

I-REC (International Renewable Energy Certificate) คือระบบใบรับรองพลังงานหมุนเวียนแบบสากลที่มีมาตรฐานและระบบติดตามที่ยอมรับในระดับนานาชาติโดย I-TRACK ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากประเทศเนเธอแลนด์ โดย ณ ปัจจุบัน I-REC เป็นมาตรฐานหลักที่ถูกใช้ใน 60 ประเทศทั่วโลกที่เป็นประเทศนอกทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย

4. T-Ver คืออะไร

T-VER คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ โดย อบก. จะเป็นผู้ให้การขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากโครงการ T-VER โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้ จะเรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งสามารถนำไปใช้รายงาน ใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล การจัดงานอีเว้นท์ และจากการผลิตผลิตภัณฑ์ได้

5. Carbon Credit คืออะไร

Carbon Credit คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น การนำไปปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินงานไปรายงาน การนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ ต่างๆ

6. Carbon Footprint คืออะไร

Carbon Footprint คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ หรือจากกิจกรรมที่เราทำ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราทำ เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนฟุตพริ้นท์มีด้วยกัน 2 ประเภท

  1. Carbon Footprint Product หรือ CFP คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ โดยมาจากกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การกระจายสินค้า/ขนส่ง การใช้งาน/บริโภค การจัดการของเสียหลังการใช้งานผลิตภัณฑ์
  2. Carbon Footprint for Organization หรือ CFO คือปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งจะถูกวัดรวมอยู่ในรูปของตัน (กิโลกรัม) ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยแบ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 3 ส่วนที่จะเป็นขอบเขตในการวัด คือ
  • Scope 1 : การคำนวน CFO โดยตรงจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การใช้พาหนะที่องค์กรเป็นเจ้าของ การรั่วไหลและการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
  • Scope 2 : การคำนวน CFO จากการใช้พลังงาน คือการซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานไอน้ำ พลังงานความร้อน
  • Scope 3 : การคำนวน CFO จากกิจกรรมทางอ้อมอื่นๆ ขององค์กร เช่น การเดินทางของพนักงาน (ที่ไม่ใช้ยาพาหนะขององค์กร) การเดินทางสัมนานอกสถานที่ เป็นต้น